องค์การบริหารส่วนตำบล มะขามสูง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
หน้าหลัก

Home
ข้อมูลหน่วยงาน

General
บุคลากร

Sfaff
การบริหารบุคคล

Personal
ข่าวสาร

News
แผน

Planning
รายงาน

Report
ระเบียบ

Rules
บริการประชาชน

Service
 
   
   
 
 
 
 


โรคฝีดาษลิง
 
โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ธรรมชาติของเชื้อไวรัสก่อโรคชนิดนี้ มีรังโรคอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ และติดต่อไปยังสัตว์อื่น ในตระกูลลิงไม่มีหาง กระต่าย และสัตว์ฟันแทะอื่น เช่น กระรอกดิน พร้อมทั้งบอกวิธีการป้องกันและการรักษาที่ถูกวิธีเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน  
 

แพทย์ผิวหนังให้ความรู้ประชาชน  โรคฝีดาษลิง

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนังให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับ โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ธรรมชาติของเชื้อไวรัสก่อโรคชนิดนี้ มีรังโรคอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ และติดต่อไปยังสัตว์อื่น ในตระกูลลิงไม่มีหาง กระต่าย และสัตว์ฟันแทะอื่น เช่น กระรอกดิน พร้อมทั้งบอกวิธีการป้องกันและการรักษาที่ถูกวิธีเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า รายงานสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสฝีดาษลิงที่กำลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในสหราชอาณาจักร มีแนวโน้มกำลังระบาดในยุโรปแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก พร้อมสร้างความรู้ความเข้าใจและรู้เท่าทันต่อสถานการณ์โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกขณะนี้ โรคฝีดาษลิง มีลักษณะการติดต่อแบ่งเป็นจากสัตว์สู่มนุษย์ พบว่าสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง หรือเยื่อเมือกเช่น จมูก ปาก หรือตา กับสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค สารคัดหลั่ง เลือด ผิวหนัง หรือ การนำซากสัตว์ป่วยมาปรุงอาหาร รวมทั้งการถูกสัตว์ป่วย ข่วน กัด หรือสัมผัส เครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากสัตว์นั้น ส่วนการติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ทางหลักติดต่อผ่านละอองฝอยทางการหายใจขนาดใหญ่ จากการอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะประชิด การสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย การสัมผัสเลือด หรือรอยโรคที่ผิวหนัง หรือ ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หลังได้รับเชื้อโรคนี้มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 7 - 14 วัน หรืออาจนานได้ถึง 21 วัน
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จะเริ่มต้นจากอาการมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างฝีดาษลิงและฝีดาษ คือในฝีดาษจะไม่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตเช่นเดียวกับในฝีดาษลิง ภายใน 1 - 3 วัน หลังจากมีอาการดังกล่าว จะเริ่มมีผื่นขึ้นโดยเริ่มมีผื่นบริเวณใบหน้าแล้วลามไปที่ผิวหนังส่วนอื่น จากผื่นจุดแดง นูนขึ้นเป็นตุ่ม แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำ และตุ่มหนอง และแตกออกเป็นสะเก็ดในที่สุด การดำเนินโรคจะใช้เวลาประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ โดยประมาณโดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 % โดยมีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในปอด การขาดน้ำและภาวะสมองอักเสบ การตรวจทางห้องปฏิบัติการใช้การตรวจด้วยวิธี PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง รักษาโดยให้ยาต้านไวรัส cidofovir , Tecovirimat, brincidofovir ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ แต่ก็พบว่ามีรายงานการเสียชีวิตจากโรคนี้ได้ โดยกลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุด คือกลุ่มเด็กเล็ก การป้องกันปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิง ในสหรัฐอเมริกา คือ JYNNEOS
ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวถึง สำหรับการป้องกันเบื้องต้นสำหรับประชาชนทั่วไป แนะนำให้ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือ แอลกอฮอล์เจล งดรับประทานของป่า หรือปรุงอาหารจากสัตว์ป่า หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ ในกรณีที่พบผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง แนะนำให้แยกผู้ป่วย ป้องกันระบบทางเดินหายใจของผู้ใกล้ชิด และนำส่งสถานพยาบาลที่สามารถแยกกักตัวผู้ป่วยได้ หลีกเลี่ยงการเลี้ยง หรือนำเข้าสัตว์ป่าจากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง

ที่มา : กรมการแพทย์ #สถาบันโรคผิวหนัง #ฝีดาษลิง

 

ข่าว ณ. วันที่ 5 ส.ค. 2565 เวลา 15.29 น. โดย คุณ ณัฐสินี

ผู้เข้าชม 56 ท่าน

 
 
 
 
 
 
 

 
  แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10